GTH

NORTH ASEAN & NEC CONSULTANT Project Developer & Service Provider

Pages

  • Home
  • Our Group
  • Sponsor Us

NAF GROUP

NAF GROUP

Energy

  • Waste to energy advanced cycle  
  • RE2











Email ThisBlogThis!Share to XShare to FacebookShare to Pinterest
Home
View mobile version
Subscribe to: Posts (Atom)

GTH WEBINAR

GTH WEBINAR

GTH LEARNING & TRAINING

GTH LEARNING & TRAINING

BA BOON AT CO LTD

BA BOON AT CO LTD

EV&SOLAR TECH CO LTD

EV&SOLAR TECH CO LTD

.

LINE

LINE

WE CHAT

WE CHAT
  • GTH WEBINAR STRATEGY

MEKONG E FERRY

MEKONG E FERRY

Soil Boiling

แผ่นดินไหว Soil Boiling และ Liquefaction ……………………………… ผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่น่าสนใจ และพึงระวังในพื้นที่ที่มีดินอิ่มตัวด้วยน้ำ โดยเฉพาะในดินตะกอนทราย ทรายละเอียด ดินเหนียวอ่อน หรือดินที่เกิดจากเถ้าภูเขาไฟ (Lahar) เมื่อแผ่นดินไหวจะเกิดคลื่นสั่นสะเทือนมายังชั้นดิน หากชั้นดินนั้นมีปริมาณน้ำอยู่มากหรืออิ่มตัวด้วยน้ำ (Saturated soil) เช่น ดินทรายละเอียดหรือดินเหนียวที่มีน้ำแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน จะเกิดแรงดันน้ำในโพรงดิน (Pore water pressure) ขึ้นสูงมาก แรงดันน้ำในดินที่เกิดขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถระบายออกได้ทันจะดันตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตกผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินเกิดเป็นฟองน้ำผุดขึ้นมาบนผิวดินลักษณะคล้าย “ดินเดือด” หรือ “Soil boiling” สิ่งที่ปรากฎเมื่อเกิด Soil Boiling คือ น้ำ ดิน และทรายละเอียดผุดออกมาจากพื้นดิน ลักษณะเป็นฟองปุดขึ้นตลอดเวลา ทำให้พื้นดินโดยรอบเกิดรอยแตก รอยยุบตัว และไม่มั่นคง หากเกิดในพื้นที่มีโครงสร้าง เช่น อาคารบ้านเรือน ถนน อาจเกิดการทรุดตัวจมลง หรือเอียงได้ ผมเห็น Soil boiling จากข่าวแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ บริเวณพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ ที่เสียหายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้กับแนวเลื่อนสะกาย เกิดรอยแยกขนาดใหญ่เกิดขึ้น และมีน้ำผุดขึ้นจากพื้นดินตลอดเวลา Soil Boiling เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นใต้พิภพขณะเกิดแผ่นดินไหว ผลที่ตามมาและส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่นและมีความลาดเอียง คือ Liquefaction ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ดินสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักแปรสภาพคล้ายของเหลว กล่าวโดยสรุปได้ว่า Soil Boiling เปรียบเสมือนช่องทางระบายแรงดันน้ำในโพรงดิน หากดินไม่มีความเชื่อมแน่นจะแปรสภาพเป็นของเหลว ทำให้แผ่นดินทรุดตัว หรือ ไหลได้ เมื่อปี พ.ศ. 2561 ผมไปร่วมประชุมในนามวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยที่จาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุลาเวสี แต่ที่จาร์กาตาร์ไม่รู้สึกถึงการสั่นไหว เมื่อกลับมากรุงเทพ ได้เห็นข่าวที่น่าสะพรึงคือเกิด Liquefaction ขึ้นในเมืองปาลู (Palu) พื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วยดินที่เป็นเถ้าภูเขาไฟหรือ Lahar ทับถมกัน มีความลาดเอียงสู่ทะเล เถ้าภูเขาไฟจัดเป็นดินจำพวก Silty sand เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง พื้นดินที่เมืองปาลูตั้งอยู่จึงสูญเสียแรงยึดเหนี่ยวเกิด Liquefaction ดินทั่วบริเวณแปรสภาพเป็นของเหลวไหลคล้ายโคลนหนืด ไหลลงไปตามความลาดเอียง หมู่บ้านทั้งหมดจมตัวลงและถูกฝังลงใต้พื้นดินในระยะเวลาไม่นาน ผมเคยพูดเรื่องนี้กับอาจารย์สุทธิศักดิ์ ศรลัพภ์ ในรายการโยธาน่ารู้ EP.33 ตอนธรณีสูบ (Liquefaction) เรายังได้เชื่อมโยงไปในเหตุการณ์ที่พระเทวทัตลอบทำร้ายพระพุทธเจ้าที่ว่า ในบัดดลธรณีเลื่อนลั่น แล้วพระเทวทัตก็ถูกธรณีสูบหายไป เราคุยกันว่าตอนนั้นคงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง และเกิด Liquefaction ในบริเวณนั้นพอดี.... ท่านสามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมในรายการโยธาน่ารู้ EP.33 ตอนธรณีสูบ

ATALL INVESTMENT

ATALL INVESTMENT

NAHMIP

NAHMIP

Contact Us

Name

Email *

Message *

สสว

สสว
© ATALL HOLDING CO LTD ALL RIGHT RESERVED . Simple theme. Powered by Blogger.

R&D

  • R&D
  • Energy
  • รายชื่อโรงไฟฟ้าชุมชน
  • โรงไฟฟ้าชุมชน TOR
  • โรงไฟฟ้าขยะไพโรไรซิส
  • COGEN จีน ใน นครพนม
  • Green River Holding
  • Cavern1
  • Cavern2
  • Cavern3
  • Cavern4
  • Cavern 5
  • Webinar sponsor

5 DEALER

  • Wood chiper

DIGITAL BUSINESS ECOSYSTEM

DIGITAL BUSINESS ECOSYSTEM

NEC สศช

NEC สศช